สัการะ 12 พระธาตุประจำปีเกิด เพื่อขอโชคลาภ เหมาะสำหรับสายเที่ยวอย่างที่เราแล้วคงเคยได้มีการลองไปกราบไหว้สัการะพระธาตุในถาคเหนือหลายๆที่อยู่แล้ว แต่ความเชื่อว่าหลายคนก็อาจจะยังไม่ทราบว่าพระธาตุที่ไปนั้นเป็นพระธาตุประจำปีเกิด และวันนี้เราจะมานำเสนอและบอกเล่าว่าพระธาตุต่างๆ นั้นเป็นพระธาตุประจำวันเกิดไหน คนเกิดปีอะไรควรจะกราบไหว้ที่ใด พร้อมยังบทสวดคาถาบูชาพระธาตุนั้นๆ และมีความเชื่อว่าทางด้านที่นำบุญนี้จะนำมาด้วยโชคลาภ หวังเพื่อจะถูกหวย
พระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ตั้งอยู่ที่จังหวักเชียงใหม่ เป็นพระธาตุประจำปีชวด หรือปีหนู ( ธาตุน้ำ) ตาม 12ปีนักษัตรถือว่าเป็นปีที่ 1ที่ถูกสร้างขึ้นในปี. พ.ศ. 1995 ถือว่านั้นเป็นพระธาตุคู่บ้านคูาเมืองของอำเภอจอมทอง เป็นทั้งอารามหลวงและความพิเศษ ของพระธาตุนี้เป็น พระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ ณ. พระโกศห้าชั้น ภายในมณฑปทรงปราสาทเป็นพระยรมสารีริกธาตุ หรือ พระทิกขิณโมฬีธาตุ ถือว่าเป็นต้องแวะมากราบไหว้พระธาตุศรีจอมทองสักหนึ่งครั้งซึ่งเป็นการไหว้เสริมดวง คนปีชวด
ตั้งนะโม 3 จบ
นะโมพุทธายะ นะมามิ
ติโลกะโมลี โลหะกูเฏ
ปะติฏฐิตัง ปูชิตัง สัพพะโลเกหิ
กิตติมันตัง มะโนหะรัง
อะหังวันทามิ สัพพะทา
อังคะวะเย ปุเรรัมเม
โกวิลา รัคคะปัพพะเต
สะหิเหมะคูหา คัพเภ ทักขิณะโมลี
พระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ ณ. จังหวัดลำปาง พระธาตุประจำปีวัว (ธาตุดิน) ตาม 12 ปีนักษัตรถือว่าเป็นปีที่ 2เป็นพระะาตุคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปางมาอย่างช้านาน ภายนอกยิ่งใหญ่สมกับเป็นวัดอารามหลวง สถาปัตยกรรมล้านนา แบะได้ใช้ไม้เป็นส่วนประกอยไปด้วยหลักสมบูรณ์แบะงดงามเป็นอย่างยิ่ง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพะรเกศา และพระอัฐิธาตุจากพระนลาฏทางด้านขวา พระศอด้านหน้ากับด้านหลัง และยังมีส่วน ซุ้มพระบาท ถือว่าเป็นความมหัศจรรย์ของสถานที่นี้เอง
ตั้งนโม 3 จบ
ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวาจีรัง
ปะติฎฐาลัมภะ กัปปะปุเร
เทเวนะ คุตตา อุตตุราภิทัยยา
นะมามิ หันตัง วะระชินะธาตุง
กุมาระกัสสะปะ นะลาตะธาตุโย
เมฆิยะมะหาเถโร กะนะธาตุง ฐะเปติ
มหาฐาเน เจติยัง ปูชิตา นะระเทเวหิ
อะหังวันทามิ ธาตุโย
พระธาตุซ่อแฮ ตั้งอยู่ ณ. จังหวัดแพร่ พระธาตุประจำปีขาลหรือปีเสือ ( ธาตุไม้) ตาม12 นักษัตรถือว่าเป็นปีที่ 3ภายนอกสีทองที่งดงามอร่ามตา สถาปัตยกรรมเป็นรูปแบบล้านนา สกุลช่องของเมืองแพร่ พระอารามหลวงศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองแพร่ ตั้งแต่อดีตกาลเป็นที่เก็บพระอัฐิธาตุพระศอกซ้ายและพระเกศาธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามตำนานได้กล่าวไว้ว่า ถูฏสร้างขึ้นในเมื่อปี พ.ศ. 1879 – 1881 -สมัยพระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท)
ตั้งนโม 3 จบ
โกเสยยะ ธะชัคคะ
ปัพพะเต สัตตะมะโนรัมเม
พุทธะ เกสาธาตุ ปะติฏฐิตา
อะหังวันทามิ สัพพะทา
อะหังวันทามิ ธาตุโย
อะหังวันทามิ สัพพะโส
พระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่ ณ. จังหวัดน่าน พระธาตุประจำปีกระต่าย ( ธาตุไม้) ตาม 12นักษัตรถือเป็นปีที่ 4พระธาตุอารามหลวงประจำเมือง่าน ตั้งอยู่ที่ตำบล ม่วงตื้ด อำเภอภูเพียง รูปแบบสถาปัตยกรรมของงานสร้างเป็นของล้านนาดูแล้วมีความวิจิตร งดงามและยิ่งใหญ่มาก ส่วนของพระธาตุนั้นมีความสูงมากถึง 55 .5 เมตรสีทอง อลังการมาก และเป็นสิ่งประดิษฐานพระเกศาธาตุและพระบรมธาตุข้อพระหัตถ์ทางด้านซ้าย
ตั้งนโม 3 จบ
ยาธาตุภูตา อะตุลานุภาวา
จีรัง ปะติฏฐิตา นันทะกัปปะเกปุเร
เทเวนะ คุตตา วะระพุทธะธาตุง
จิรัง วันทามิ หันตัง
ชินะธาตุโย โสตะถาคะตัง
อะหังวันทามิ สัพพะทา
อะหัง วันทามิ ทูระโต (สวด 3 จบ)
พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ ตัังอยู่ ณ. จังหวัดเชียงใหม่เป็นพระธาตุประจำปีงูใหญ่ (ธาตุดิน) ตาม 12ปีนักษัตรเป็นปีที่ 5พระธาตุสำคัญสำหรับชาวเชียงใหม่ แล้วเป็นที่คุ้นเคยกันอย่างดี และตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่ เป็นที่จุดที่จัดพิธีกรรมสำคัญต่างๆอยู่บ่อยครั้ง เป็นอารามหลวววงชั้นเอก พระตัวเจดีย์เก่าสร้างขึ้นในสมัยเดียวกับการก่อสร้างวัด สถาปัตยกรรมศิลปะรูปแบบล้านนาหริภุญชัย ผสมลังกา
ตั้งนโม 3 จบ
อิติปะวะระสิหิงโต อุตตะมะยะโสปิ เตโช
ยัตถะ กัตถะ จิตโตโส สักกาโร
อุปาโท สะกาละพุทธะ สาละธัง
โชตะยันโตวะ ทีโป
สุระนะเรหิ มะหิโต
ธะระมาโนยะพุทโธติ นะมามิ
สิหิงคะพิมพัง สุวัณณาภิรัมมัง
ลังกาชาตัง โสภาภิโสภัง
สะราภิกันตัง นะมามิหัง
พระมหาเจดีย์พพุทธคยา ตั้งอยู่ ณ. ประเทศอินเดีย เป็นพระธาตุประจำปีงูเล็ก (ธาตุไฟ) ตาม 12ปีนักษัตรเป็นปีที่ 6ซึ่งอยู่ไกลมากถึงประเทศอินเดีย แต่สำหรับคนที่เกิดปีงูเล็กแล้วนั้นก็ไม่ต้องน้อยใจ เพราะยังมีวัดจำลองในรู)แบบที่ใกล้เคียงกันอยู่ในเมืองไทย วัดเจดีย์เจ็ดยอด (จังหวัดเชียงใหม่) / วัดอนาลโยทิพยาราม (จังหหวัดพะเยา ) / วัดพระธาตุหนองบัว ( จังหวัดอุบลราชธานี )
ตั้งนโม 3 จบ
ปะฐะมัง โพธิปัลลังกัง
ทุติยัง อะนิมิสสะกัง
ตะติยัง จังกะมะ
เสฏฐัง จตุตะกัง
ระตะนะฆะรัง ปัญจะมัง
อะชะปาละนิโคธัง ฉัฏฐัง
ราชะยะตะนัง สัตตะนัง มุจจะลิทัง
อะหังวันทามิ ทูระโต
พระธาตุมหาเจดีย์ชเวดากอง ตั้งอยู่ ณ.ประเทศพม่า พระธาตุประจำปีม้า (ธาตุไฟ) ตาม 12ปีนักษัตรถือเป็นปีที่ 7พระธาตุประจำปีม้า ตั้งอยู่ไกลมากถึงประเทศพม่า เป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุเกศาธาตุของพระพุทธ ตัวเจดีย์เป็นสีทองอาร่าม และยังมีทอวคำหุ้มอยู่ด้วย น้ำหนักมากถึง 1 ,100 ก.ก เป็นเจดีย์ขนาดใหญ๋ที่สุดในประเทศพม่า
ตั้งนโม 3 จบ
สัมมา สัมพุทธะ นะลาตะอัฎฐิ
จะตุเกสาธาตุยา คันธะวะรังฐิตัง
ปะระมาธาตุ เจติยัง
อะหังวันทามิ สัพพะทา
พระธาตุดอยสุเทพ ตั้งอยู่ ณ. จังหวัดเชียงใหม่ พระธาตุประจำปีแพะ ( ธาตุทอง ) ตาม 12ปีนักษัตรถือเป็นปีที่ 8เป็นอารามหลวงชั้นโท เป็นแหล่งท่องเที่ยวติดอันดับต้นๆ ตัวพระธาตุนั้นอยู่บนภูเขาทำให้โดดเด่นมองเห็นได้จากในตัวเมืองเชียงใหม่ พระธาตุดอยสุเทพนั้น ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929สมัยพญากือนา
ตั้งนโม 3 จบ
สุวัณณะเจติยัง เกสาวะระมัตถะลุงคัง
อรัญญะธาตุ สุเทเว
สัพพะ ปูชิง ตัง นะวะเทเวหิ
อะหัง วันทามิ ธาตุโยฯ
พระธาตุพนม ตั้งอยู่ ณ. จังหวัดนครพนม พระธาตุนั้นอาจจะออกมาจากโซนภาคเหนือมาตั้งอยู่ที่ภาคอีสานตอนเหนือนิดหน่อย เนื่องจากในสมัยนั้นยังคงเป็นอาณาจักร์ล้านช้างอยู่ และเชื่อกันว่าถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 8 สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์
ตั้งนโม 3 จบ
ปุริมายะ ทักขิณายะ
ปัจฉิมายะ อุตตะรายะ
เหฎฐิมายะ อุปะริมายะ
ทิสายะ กะปะณะศิริสะมิง
ปันพะเตมะกัสสะเปนะ ฐาปิตัง
พุทธะอุรังคธาตุง สิระสา
นะมามิ เสตะฉัตตัง
สุวัณณะระชะตัง ระตะนัง
ปะณีตัง พุทธะ
อุรังคะเจติยัง
อะหังวันทามิ สัพพะทา
พระธาตุหริภุญชัย ตั้งอยู่ ณ .จังหวัดลำพูน สถาปัตยกรรมเป็นรูปแบบล้านนา สกุลช่างเมืองลำพูน คาดว่าถูกสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 1418 ในรั๙สมัยของพระเจ้าอาทิตยราช
ตั้งนโม 3 จบ
สุวัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฐฐัง
วะระโมลีธารัง อุรัฎฐิเสฎฐัง
สะหะอังคุลิฎฐิง กัจจายะเนนา
นิตะปัตตัปปะการัง สีเสนะ
มัยหัง ปะระมามิธาตุง
วัดเกตการาม ตั้งอยู่ ณ. จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำปิง ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1971 ถูกกล่าวว่าเป็นที่ประดิษฐานพะรเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า และเป็นที่มาจากคำว่า เกศ
ตั้งนโม 3 จบ
ตาวะติงสายะ ปุรัมเม
เกสะจุฬามะณี สะรีระปัพพะตา
ปูชิตา สัพพะเทวานัง
ตังสิระสาธาตุ อุตตะมัง
อะหังวันทามิ สัพพะทา
พระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่ ณ .จังหวัดเชียงราย เป็นสถานที่โบราณที่เก่าแก่และมีมนตร์ขลังของเชียงราย และคาดว่าถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1454
ตั้งนโม 3 จบ
อิมัสสะมิง ภัทกะกัปเป
จะตุพุทธา พุชูฌะติตะวา
กะกุสะนูระ โกนาคะมะนะ
กัสสะปะ โคตุมะราชะคะเห
จะระติปิณะฑายะ มิถิลายะนะคะเรสิ
จะรัตติ ปิณะฑายะ อะตะตีตา
พุทธาเน อิมัสสะมิง
ปัพพะตาคิริ ปะทะ
กังนะสิทิตะวา เมตเตยยะ
อะนาคะเต จะระติปิณะฑายะ
ราชะคะเห อิมัสสะมิง
ฐาเนนะสิทิสิริ สุภะปะวะ
รังมะคะโล ตะโมลากะถามุนิราชะ
สาตะระนะมามิหันตัง วะระชินะธาตุง
อะหังวันทามิ สัพพะทานะตัง
วะชิระธาตุโย อะระหังวันทามิ สัพพะทา
อ่านเพิ่มเติม เคล็บลับเสริมดวงก่อนวันหวยออก