ลอตเตอรี่เสือป่าล้านบาท ลอตเตอรี่หรือสลากกินแบ่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ที่มีประเด็น
คือ “ลอตเตอรี่เสือป่าล้านบาท” ที่ถูกพิมพ์ขึ้นมา 1 ล้านฉบับ จำหน่ายฉบับละ 1 บาท เพื่อใช้ในการระดมทุนจัดหาอาวุธให้กองเสือป่า โดยลอตเตอรี่นี้มีต้นคิดและอำนวยการโดย “มหาเสวกตรี” และ “นายพลเสือป่า พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี”
หวยเกิดขึ้นราวปี พุทธศักราช 2375 รัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงขาดแคลน ข้าวยากหมากแพง คนไม่ยอมนำเงินมาใช้ เอาเงินไปฝังไว้ในดิน ต่อมาได้แก้ปัญหาเรื่องนี้ด้วยการตั้งหวย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าสัวผู้หนึ่งซึ่งเป็นนายอากรสุราชื่อว่า “จีนหง” ตั้งโรงหวยขึ้นมาตั้งแต่บัดนั้น
หวยในระยะแรกจะเล่นอยู่ในกลุ่มชาวจีน เรียกว่า “ฮวยหวย” (花會) แปลว่า ชุมนุมดอกไม้เพราะเริ่มแรกเขียนตัวหวยเป็นรูปดอกไม้ ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นชื่อคนจีน โดยทำเป็นแผ่นป้ายเล็ก ๆ จำนวน 34 ป้าย แล้วเขียนชื่อของผู้มีชื่อเสียงในสมัยโบราณเอาไว้บนป้าย ให้แทงว่าจะออกเป็นชื่อใคร ถ้าทายถูกเจ้ามือจ่าย 30 ต่อหนึ่ง
ต่อมาเมื่อการพนันแพร่ระบาดสู่สังคมไทย จึงได้มีการออกหวยที่เป็นอักษรไทย (ซึ่งใช้ตัวอักษร 36 ตัว) จึงมีชื่อเรียกว่า “หวย ก ข” โดยโรงหวยเป็นของรัฐที่มีเอกชน เป็นผู้ได้รับสัมปทานดำเนินการ ทั้งนี้นายอากรหวย ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนบาล” หรือ “ขุนบาน” โดยรายได้จากอากรหวยมีเป็นจำนวนมาก และได้กลายเป็นรายได้ที่สำคัญของรัฐ
ความต้องการเล่นหวยมีมากกว่าที่รัฐจะจัดให้เล่นได้ จึงได้เกิดขุนบานเถื่อนขึ้นทั่วประเทศ ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริ ที่จะยกเลิกการเล่นพนัน แต่เนื่องจากอากรหวยเป็นรายได้ที่สำคัญ จึงได้ทรงยกเลิกอากรบ่อนเบี้ยก่อน และค่อยมีการยกเลิกอากรหวยในสมัยรัชกาลที่ 6
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีการออกล็อตเตอรีขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อหารายได้บำรุงการกุศล และได้มีการออกล็อตเตอรีในวาระพิเศษอีกหลายครั้ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบำรุงสาธารณกุศล จนกระทั่งรัฐบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พุทธศักราช 2475 ได้ให้มีการออกล็อตเตอรี่เป็นประจำ และในปี พุทธศักราช . 2482 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ให้มีการออกล็อตเตอรี่เป็นประจำ การเล่นหวยจึงได้เปลี่ยนมาใช้เลขท้าย ของล็อตเตอรี่ เป็นการออกหวยแทนหวย ก ข แบบเดิม
ต่อมาในปี พุทธศักราช 2466 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ออก “ลอตเตอรี่เสือป่าล้านบาท” เพื่อหารายได้บำรุงกองเสือป่าอาสาสมัคร ซึ่งพิมพ์จำนวน 1 ล้านฉบับ จำหน่ายฉบับละ 1 บาท ซึ่งวิธีการออกสลากในสมัยนั้นเพียงแค่นำเลขที่ออกรางวัลบรรจุกล่องทึบแล้วใส่ลงในไห ตั้งเรียงตามลำดับจากหลักหน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ก่อนออกรางวัลกรรมการจะจับสลากเพื่อทราบว่าครั้งนี้จะออกรางวัลที่เท่าใด แล้วจึงให้กรรมการล้วงตลับบรรจุเลขหมายออกมาเปิดต่อหน้ากรรมการและประชาชนจนครบทุกรางวัลเป็นอันเสร็จการออกรางวัลสลากนั้น
แต่แล้ว เรื่องราวนี้ก็ได้ถูกผู้คนและหนังสือพิมพ์จังตามองถึงความไม่น่าเชื่อถือในการจ่ายเงินรางวัล มีการตั้งข้อสงสัยว่าผู้ซื้อสลากและถูกรางวัลสามรางวัลแรก คือ นายชื่น, นายเส็งและอีกคนหนึ่งที่ไม่ทราบชื่อแน่ชัดที่มีการจ่ายเงินรางวัลไปแล้ว ทั้งสามคนนี้มีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ ?
คดีนี้ได้ถูกตีแผ่เป็นเรื่องใหญ่โตเมื่อหนังสือพิมพ์เกิดเอะใจในเลขรางวัลทั้งสาม ซึ่งขึ้นต้นด้วย 183 ทั้งหมด และหนังสือพิมพ์ก็ได้วิพากษ์วิจารณ์พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดีผ่านการแสดงลำตัดและร้อยแก้ว ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังหนังสือพิมพ์อื่น ๆ ที่พูดถึงเรื่องดังกล่าวอย่างมากหลาย ถึงขั้นที่ว่าจั่วหัวในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ว่า “ลากไส้พระยานนทิเสน” จนเรื่องไปถึงพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้น จึงมีรับสั่งให้สืบสวนเจ้าหน้าที่และกรรมการที่ออกลอตเตอรี่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝรั่ง
ตำรวจกองพิเศษจึงออกหมายจับพระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี พระยาสิทธิศรสงคราม หลวงอนุสรณ์นนทิกิจ และขุนสิทธิ์ เพื่อส่งให้ศาลโปริสภา (ศาลแขวงในปัจจุบัน) สอบสวนและส่งเรื่องให้กรมอัยการฟ้องต่อศาลอาญา ซึ่งคดีก็สิ้นสุดที่ศาลฎีกา โดยตัดสินโทษจำคุกให้พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดีจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 15 ปี พระยาสิทธิศรสงคราม จำเลยที่ 2 จำคุก 5 ปี หลวงอนุสรณ์นนทิกิจ จำเลยที่ 3 ศาลตัดสินปล่อยตัวทันที และจำเลยที่ 4 คือขุนสิทธิ์ ก็ได้ปล่อยตัวในชั้นศาลฎีกา
คดีลอตเตอรี่เสือป่าที่เป็นข่าวใหญ่ในเวลานั้น นับได้ว่าเป็นผลของสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นตัวช่วยเผยแพร่ข้อมูลและข้อสงสัยอันนำไปสู่การหาความจริงของคดีครั้งนี้ เป็นกระจกสะท้อนอิทธิพลของสื่อมวลชนต่อสังคมในยุคแรก ๆ เลยทีเดียว
สลากกินแบ่งในอดีตที่สนใจอีกชุดหนึ่งชื่อว่า สลากกินแบ่งชุดห้าตรา คือออกสลาก 5ชุด ๆ ละ 1 ตรา
ชุดตรานาค
ชุดที่ 2 ตรานาค ออกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2479 เป็นสลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล รูปนาคเล่นคลื่น ราคาฉบับละ 1 บาทแต่ละฉบับแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ25 สตางค์ออกจำหน่าย 500,000 ฉบับ มี 267 รางวัล รางวัลที่1 เป็นเงิน 80,000 บาท ส่วนรางวัลอื่นลดหลั่นกันไป
ชุดตรานางมัจฉา
ชุดที่3 ชุดตรานางมัจฉา ออกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2480 เป็นสลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล 1 ในชุด 5 ตราราคาฉบับละ 1 บาท แต่ละฉบับ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 25 สตางค์ จำนวนจำนวนจำหน่ายจ่ายรางวัลเช่นเดียวกับชุดตรางูและชุดตรานาค
ชุดตราราชรถ
ชุดที่4 ตราราชรถ ออกเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2481 เป็นสลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล หนึ่งในชุด ห้า ตราราคาฉบับละ 1 บาท แต่ละฉบับ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 25 สตางค์ จำนวนจำนวนจำหน่ายจ่ายรางวัลเช่นเดียวกับชุดตรางูและชุดตรานาค และชุดตรานางมัจฉา
ชุดตราม้าอุปการ
ชุดที่5 ตราม้าอุปการ ออกเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2481 เป็นสลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล อยู่ในชุด ห้า ตราราคาฉบับละ 1 บาท แต่ละฉบับ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 25 สตางค์ จำนวนจำนวนจำหน่ายและจ่ายรางวัลเช่นเดียวกับ สี่ชุดข้างต้น
หากพูดถึง “ลอตเตอรี่” หรือ “สลากกินแบ่งรัฐบาล” ผู้คนก็จะเห็นเป็นช่องทางรวยอีกช่อง เพราะว่ารางวัลที่ได้รับนั้นมีมูลค่าสูง และด้วยรางวัลเหล่านี้ ทำให้ผู้คนเกิดการขวนขวายหาเลขเด็ดต่าง ๆ ไม่ว่าจะทางโลกก็ดี ทางไสยศาสตร์ก็ดี เพื่อให้พวกเขาได้รางวัลอันมากค่านั้น และด้วยรางวัลเหล่านั้น ทำให้เกิดคดีฉาวที่เกี่ยวข้องกับลอตเตอรี่ในหน้าประวัติศาสตร์ช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งคดีที่จะกล่าวถึงนี้มีความน่าสนใจ เพราะเป็นคดีที่เกิดจากการฉ้อราษฎร์บังหลวง ของเหล่าข้าราชการที่ดูแลการออกสลากและรางวัลโดยตรง
คดีนี้ถูกตีแผ่เป็นเรื่องใหญ่โตเมื่อหนังสือพิมพ์ “เกราะเหล็ก” เกิดประหลาดใจในเลขรางวัลทั้งสาม ขึ้นต้นด้วย 183 ทั้งสิ้น และ “คณะแก่นเพชร” ก็ได้วิพากษ์วิจารณ์พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดีผ่านการแสดงลำตัดและร้อยแก้ว ก่อนที่จะแพร่หลายไปยังหนังสือพิมพ์อื่นๆ ที่พูดถึงเรื่องดังกล่าวอย่างมากหลาย ถึงขั้นที่ว่าจั่วหัวในหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ว่า “ลากไส้พระยานนทิเสน” จนเรื่องไปถึงพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ ผู้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้น จึงมีบัญชาการให้สืบสวนเจ้าหน้าที่และกรรมการที่ออกลอตเตอรี่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกฝรั่ง
ตำรวจกองพิเศษ (ซึ่งเปลี่ยนชื่อในภายหลังว่า “สันติบาล”) ที่ได้สืบสาวเรื่องราวจนได้ข้อเท็จจริง จึงออกหมายจับพระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี, พระยาสิทธิศรสงคราม, หลวงอนุสรณ์นนทิกิจ และขุนสิทธิ์ เพื่อส่งให้ศาลโปริสภา (ศาลแขวงในปัจจุบัน) สอบสวนว่าคดีมีมูลจริง และส่งเรื่องให้กรมอัยการฟ้องต่อศาลอาญา และคดีก็สิ้นสุดที่ศาลฎีกา โดยตัดสินโทษจำคุกให้พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดีจำเลยที่ 1 จำคุก 15 ปี พระยาสิทธิศรสงคราม จำเลยที่ 2 จำคุก 5 ปี หลวงอนุสรณ์นนทิกิจ จำเลยที่ 3 ศาลตัดสินปล่อยตัวทันที และจำเลยที่ 4 คือขุนสิทธิ์ ก็ได้ปล่อยตัวในชั้นศาลฎีกา
คดีลอตเตอรี่เสือป่าที่เป็นข่าวใหญ่ในช่วงเวลานั้นกล่าวได้ว่าเป็นผลของสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นตัวช่วยเผยแพร่ข้อมูลและข้อสงสัยอันนำไปสู่การเสาะหาความจริงของคดีครั้งนี้ เรียกได้ว่า เป็นกระจกสะท้อนอิทธิพลของสื่อมวลชนต่อสังคมในการผลักดันการทำคดีของคณะตำรวจให้เปิดโปงความฉ้อฉลของคดีดังกล่าวได้สำเร็จ
อ่านเพิ่มเติม : วิวัฒนาการสลากกินแบ่งรัฐบาลของไทย