ขูดขอหวยจากต้นตะเคียน ต้นตะเคียนได้ขึ้นชื่อว่าเป็นต้นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และยิ่งถ้าเป็นต้นที่มีอายุหลายร้อยปีคนไทยก็เชื่อกันว่าเป็นที่สิงสถิตของเจ้าแม่อันเป็นที่มาของเจ้าแม่ต้นตะเคียนนั่นเอง
วันนี้เราจะมากล่าวถึงวิธีขูดขอหวยจากต้นตะเคียนซึ่งเป็นต้นไม้ยอดนิยมและเป็นแหล่งขอหวยชั้นดีของคนไทยกันนี่เอง
เนื่องจากต้นตะเคียนโดยส่วนมากจะมีเจ้าแม่ตะเคียนคอยปกปักรักษาอยู่ดังนั้นก่อนที่คอหวยจะเริ่มขูดขอเลขเด็ดกันจึงต้องจุดธูป 9 ดอกเพื่อบูชาและขอโชคลาภจากเจ้าแม่ตะเคียนกันก่อน
โดยการกล่าวขอโชคลาภนั้นให้ขอเท่าที่คิดว่าอาจจะเป็นไปได้และให้กล่าวถึงการนำของมาแก้บนเมื่อได้โชคจากเจ้าแม่ตะเคียนแล้ว เช่น ขอให้ได้เลขท้าย 2 ตัวแล้วถูกรางวัลในงวดที่จะถึงนี้ ถ้าถูกหวยก็จะนำเครื่องประดับชุดไทยสีชมพูมาถวายเจ้าแม่ เป็นต้น ก่อนที่จะขอพรก็อย่าลืมเอ่ยชื่อคนขอด้วยนะคะ เดี๋ยวเจ้าแม่ไม่รู้จะให้โชคใครดี หลังจากนั้นให้ใช้แป้งขวดสีชมพูเท่านั้น ทาลงไปบนผิวไม้แล้วใช้นิ้วโป้งถูไปมาจนเห็นเป็นตัวเลข
ถ้าตำแหน่งไหนถูเกิน 5 นาทีแล้วไม่เห็นตัวเลขก็ให้เปลี่ยนตำแหน่งใหม่ ถ้าวันไหนถูเกิน 3 ตำแหน่งแล้วไม่ได้เลขเด็ดสักทีก็ให้เลิกถูแล้วค่อยกลับมาถูใหม่ในวันรุ่งขึ้น อย่าพยายามถูต่อไปเพราะยังไงก็ไม่เห็นตัวเลขแน่นอนหรือถ้าเห็น เลขที่ได้มานั้นก็จะไม่ถูกหวย ต้นไม้ที่มีเจ้าแม่สิงสถิตอย่างต้นตะเคียนจะให้โชคแก่ผู้ที่ทำความดีสะสมบุญมาเยอะและมากราบไหว้บูชาอยู่เป็นประจำ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมคนที่เคยได้เลขจากการถูต้นตะเคียนไปแล้วจะถูกหวยและถูกต่อไปอีกหลายงวด สิ่งสำคัญคือการขอโชคไม่เกินตัวและสิ่งของที่นำมาแก้บนก็สมเหตุสมผลกันด้วยนั่นเอง
ต้นตะเคียน ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์และมีผีสิงอยู่ มักจะได้รับการเรียกชื่อว่า เจ้าพ่อ หรือ เจ้าแม่ตะเคียนนางตะเคียน เป็นผี ตามตำนานพื้นบ้านของไทย
ลักษณะ
นางตะเคียน เป็นผีผู้หญิง สิงสถิตอยู่ในต้นตะเคียน บริเวณผืนป่าที่ผีนางตะเคียนสิงสู่อยู่จะสะอาดสะอ้านเหมือนมีคนมาปัดกวาดอยู่เสมอ ๆ ก็คงเหมือนกับคนอยู่บ้านต้องออกมาปัดกวาดหน้าบ้านตัวเองให้สะอาดอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
นางตะเคียนมักมีรูปร่างหน้าตาสะสวย หมดจดงดงาม ผมยาว ห่มสไบ ใส่ผ้าถุง บางที่ก็ว่าแต่งตัวเหมือนสาวบ้านป่าทั่ว ๆ ไป ผีนางตะเคียนมักจะเป็นจำพวกหวงที่อยู่ และจะดุร้ายมากหากใครคิดจะรุกรานที่อยู่ของตน
เนื่องจากต้นตะเคียน มีผีนางตะเคียนสิงสู่อยู่ การจะนำเอาต้นตะเคียนมาขุดเป็นเรือ (เรือสมัยก่อนใช้วิธีขุดขึ้นจากต้นไม้ทั้งต้น) หรือนำไม้ตะเคียนมาสร้างบ้าน จำเป็นจะต้องทำพิธีบวงสรวงขออนุญาตจากนางตะเคียนก่อน ทั้งนี้ เมื่อต้นตะเคียนที่ถูกนำมาแปรสภาพเป็นยานพาหนะ หรือสิ่งปลูกสร้างแล้ว นางตะเคียนที่สิงสถิตอยู่ในต้นตะเคียนนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงสถานะตามไปด้วย เช่น ถ้าเป็นเรือ นางตะเคียนก็จะกลายเป็นแม่ย่านางเรือ เป็นต้น
“ตัดไม้มาปลูกบ้าน”
ถ้าพูดถึงเวรกรรมแล้ว ทุกคนคงเข้าใจดีว่า เมื่อเราเกิดมาย่อมหนีความตายไม่รอด แม้สรรพสิ่งใดก็ตาม ที่อยู่ในโลกนี้ ย่อมมีทั้งคนดี และชั่ว เรื่องนี้เป็นอาถรรพ์ ที่เกิดขึ้นจริง ในจ.น่าน ณ ที่บ้านร้างแห่งหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นสถานที่บูชาเจ้าแม่ตะเคียน ที่ผุดขึ้นมาจากเสาบ้านหลังที่ใหญ่โต ผู้เถ้าผู้แก่ เล่าลือกันมาว่า คนที่
ไปตัดไม้มาทำบ้านเรือน เพื่อเป็นที่อยู่ โดยเฉพาะบ้านไม้หลังใหญ่โต สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ย่อมนำความหายนะ มาสู่บ้านเรือน ไม่ว่าคนที่อาศัย ย่อมเจ็บเป็นป่วยไข้ และล้มหายตายจากไป
“ผีนางไม้ที่สถิตย์อยู่”
วิญญาณก็ต้องรอเวียนว่าย ตายเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด …..เรื่องนี้เกิดขึ้นจริง ลือกันมาว่า หลังจากบ้านแห่งนั้นปิดตายมานาน คนภายนอกที่มาพักอาศัย จากต่างถิ่น ก็เข้ามาเช่าอยู่
แต่ต้องตาย ทั้งที่ไม่ทราบสาเหตุ บ้างก็ลือกันว่า ผีมาเอาชีวิตไป เพื่อรอการไปผุดไปเกิด ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีใครที่จะไปพักที่แห่งนั้น เพราะต่างหวาดผวา กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางหมู่บ้านจึงทำพิธีสะเดาะเคราะห์ เพื่อเป็นความสิริมงคลแก่ชีวิต ..แต่ข้าพเจ้าเองคงคิดว่า เป็นผีนางไม้ที่สิงสถิตย์ อยู่ต้นตะเคียนที่บ้านแห่งนั้น..
ศาลเจ้าแม่ตะเคียน มีเรื่องเล่ากันว่า อยู่คู่กับวัดหนองผักชีมาตั้งแต่สร้างวัดครั้งแรก สภาพภูมิประเทศของวัดหนองผักชีในสมัยก่อน เป็นทุ่งนา และป่าละเมาะ จากคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ในพื้นที่ เล่ากันว่า ในสมัยนั้นที่วัดจะเป็นป่า และข้างหลังศาลเจ้าแม่ตะเคียนจะมีคลองน้ำ ที่ใช้สัญจรไปมาของคนในยุคนั้น ไม่มีชาวบ้านกล้าเดินผ่านวัด เพราะว่าผีเฮี้ยนมาก เจ้าแม่ตะเคียนนี้เฮี้ยนมาก (อาจเป็นเพราะยุคนั้นยังไม่ศาลก็ได้) ได้เที่ยวหลอกหลอนคนที่ผ่านไปมา แต่ก็มีบางครั้นก็บันดาลโชคลาภแก่ผู้ที่มาเคารพสักการะอยู่เป็นประจำ มาถึงยุคหลวงพ่อสูงเป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ดำเนินการสร้างศาลเจ้าแม่ตะเคียน เจ้าแม่ตะเคียนก็ไม่ได้หลอกหลอนชาวบ้านอีกเลย มีแต่บันดาลโชคลาภแก่ผู้ที่มาเคารพ และบนบาน เชื่อกันว่าเจ้าแม่ตะเคียนให้หวยแม่น จึงมีผู้คนเดินทางมาทำบุญที่วัดหนองผักชีเป็นจำนวนมาก
ตะเคียน หรือ ตะเคียนทอง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hopea odorata) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ไม้ตะเคียน สามารถพบในประเทศบังกลาเทศ, ประเทศกัมพูชา, ประเทศอินเดีย, ประเทศลาว, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศพม่า, ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม
ตะเคียนยังมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกดังนี้ : กะกี้ โกกี้ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) แคน (ตะวันออกเฉียงเหนือ, เลย) จะเคียน (เหนือ) จืองา (มลายู นราธิวาส) จูเค้ โซเก (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ตะเคียนใหญ่ (กลาง) ตะเคียนทอง (กลาง, ประจวบคีรีขันธ์) ไพร (ละว้า เชียงใหม่)
ตะเคียนเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 20-40 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบกลมหรือรูปเจดีย์ต่ำ เปลือกหนาสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กระพี้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลแดง ใบรูปไข่แกมรูปหอก หรือรูปดาบ กว้าง 3-10 เซนติเมตร ยาว 6-14 เซนติเมตร เนื้อใบค่อนข้องหนา ปลายใบเรียว โคนใบบนป้านและเบี้ยว หลังใบที่ตุ่มเกลี้ยง ๆ อยู่ตามง่ามแขนงใบ เส้นแขนงใบมี 9-13 คู่ ปลายโค้ง แต่ไม่จรดกัน ดอกเล็ก ออกเป็นช่อยาว สีขาว ตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ โดยเชื่อมติดกัน มีกลิ่นหอม ผล กลม หรือรูปไข่เกลี้ยง ปลายมน เป็นติ่งคล้ายหนามแหลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 เซนติเมตร ยาว 1 เซนติเมตร ปีกยาว 1 คู่ รูปใบพาย
1. ไม้ตะเคียน จัดเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศ เพราะเนื้อไม้มีความทนทาน ทนปลวกดี เลื่อย ไสกบ ตกแต่งและชักเงาได้ดีมาก นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือ เฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน เครื่องเรือน หน้าต่าง วงกบประตู ทำพื้นกระดาน ฝ้าหลังคา รั้วไม้ หีบใส่ของ ด้ามเครื่องมือกสิกรรมต่าง ๆ พานท้ายและรางปืน หรือใช้ทำสะพาน ต่อเรือ ทำเรือมาด เรือขุด เรือแคนู เสาโป๊ะ กระโดงเรือ ทำรถลาก ทำหมอนรองรางรถไฟ ตัวถังรถ กังหันนั้น เกวียน หูกทอผ้า ทำไม้ฟืน ฯลฯ ไม้ชนิดนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานไม้ได้ทุกอย่างที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน เหนียวและเด้ง
2. เปลือกต้นให้น้ำฝาดชนิด Catechol และ Pyrogallol
3. ชันจากไม้ตะเคียนใช้ทำน้ำมันชักเงาตบแต่งเครื่องใช้ในร่ม ใช้ผสมกับน้ำมันทาไม้ยาแนวเรือ หรือใช้ผมกับวัสดุอื่น ๆ เพื่อใช้ในงานต่าง ๆ เช่น ใช้สำหรับทาเคลือบเรือเพื่อช่วยรักษาเนื้อไม้และป้องกันเพรียงทำลาย เป็นต้น
4. ใบตะเคียนมีสารแทนนินอยู่ประมาณ 10% โดยน้ำหนักแห้ง ส่วนในเปลือกต้นก็มีสารประกอบนี้อยู่ด้วยเช่นกัน โดยคุณสมบัติของแทนนินที่ได้จากไม้ตะเคียนทองนี้ เมื่อนำมาใช้ฟอกหนังจะช่วยทำให้แผ่นหนังแข็งขึ้นกว่าเดิม จึงเหมาะกับการนำมาใช้เฉพาะงานได้เป็นอย่างดี
5. ใช้ปลูกตามป่าหรือตามสวนสมุนไพรเพื่อเป็นไม้บังลม เพื่อให้ร่มเงา และช่วยรักษาสมดุลทางธรรมชาติ เพราะไม้เป็นไม้ไม่ผลัดใบพร้อมกัน จึงเป็นไม้ที่ช่วยรักษาความเขียวได้ตลอดปี ช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างดี
อ่านเพิ่มเติม ขอหวยไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์